เมนู

อุบาสกนั้นแล้วกล่าวว่า " นาย ขอนายจงอดโทษให้ผมด้วย," และถูก
อุบาสกนั้นถามว่า "นี้อะไรกัน ? " จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด.
พระศาสดาทรงเห็นกิริยานั้นแล้ว ตรัสถามผู้ขวนขวายในทานว่า
" นี่อะไรกัน ? " เขากราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดตั้งแต่วันที่แล้ว ๆ มา.

อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อย


ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " นัยว่า เป็นอย่างนั้น
หรือ ? เศรษฐี." เมื่อเขากราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า. " ตรัสว่า
" อุบาสก ขึ้นชื่อว่าบุญ อัน ใคร ๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า 'นิดหน่อย.' อัน
บุคคลถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเช่นเราเป็นประธานแล้ว ไม่
ควรดูหมิ่นว่า 'เป็นของนิดหน่อย.' ด้วยว่า บุรุษผู้บัณฑิต ทำบุญอยู่
ย่อมเต็มไปด้วยบุญโดยลำดับแน่แท้ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดปาก ย่อม
เต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. มาวมญฺเญถ ปุญญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า 'บุญมีประมาณน้อย
จักไม่มาถึง' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา
(ทีละหยาดๆ)ได้ฉันใด, ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่ง-
สมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " มนุษย์ผู้บัณฑิต ทำบุญแล้วอย่า